ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
วันที 1 มกราคม 2515
สำนักงานอธิการบดี จัดตั้งขึ้นตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 8 มกราคม 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2515ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานมหาวิทยาลัย” ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง “ให้ใช้ชื่อส่วนงาน “สำนักงานมหาวิทยาลัย” แทนชื่อส่วนงาน “สำนักงานอธิการบดี” ในระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงาน และสนับสนุนการบริหารงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการทั่วไป ด้านบริหารงานบุคคล ด้านกิจกรรมนิสิต ด้านบริหารการเงิน ด้านวิชาการและการเรียนการสอน ด้านบริหารแผนงานและงบประมาณ ด้านวิเทศสัมพันธ์ ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านบริหารความเสี่ยง ด้านกฎมาย ด้านบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ ด้านบริการวิชาการ และด้านการกีฬา
วันที่ 22 มิถุนายน 2564
ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2564 ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 โดยกำหนดให้สำนักงานมหาวิทยาลัยมีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนการบริหารของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย และภาระหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมตามภารกิจมาโดยตลอด ปัจจุบันมีหน่วยงานย่อย จำนวน 14 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
1. กองกลาง 2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองกิจการนิสิต 4. กองคลัง
5. กองแผนงาน 6. กองยานพาหนะ อาคารและสถานที่
7. กองวิเทศสัมพันธ์ 8. สำนักงานตรวจสอบภายใน
9. สำนักงานทรัพย์สิน 10. สำนักงานบริการวิชาการ
11. สำนักงานกฎหมาย 12. สำนักงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
13. สำนักการกีฬา 14. สถานพยาบาล มก.
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565
ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานมหาวิทยาลัย ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ประกอบด้วยหน่วยงานดังนี้
สำนักงานมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 1 งาน ประกอบด้วย
- งานบริหารงานส่วนกลาง
1) กองบริหารกลาง แบ่งออกเป็น 5 งาน ประกอบด้วย
- งานบริหารระบบเอกสารกลาง - งานบริหารการประชุมและสนับสนุนสภาพนักงาน
- งานบริหารและพิธีการ - งานสื่อสารองค์กร
- งานเลขานุการผู้บริหาร
2) กองทรัพยากรมนุษย์ แบ่งออกเป็น 6 งาน ประกอบด้วย
- งานบริหารทรัพยากรบุคคล - งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
- งานสารสนเทศบุคลากร - งานความผูกพันองค์กร
- งานความก้าวหน้าบุคลากร - งานบริหารและธุรการ
3) กองพัฒนานิสิต แบ่งออกเป็น 6 งาน ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน - งานส่งเสริมสุขภาวะและอาชีพ
- งานหอพักและกายภาพ - งานทุนและสวัสดิการ
- งานกิจกรรมนิสิต - งานบริหารและธุรการ
4) กองคลัง แบ่งออกเป็น 6 งาน ประกอบด้วย
- งานการเงิน - งานบัญชี
- งานบริหารงบประมาณ - งานพัสดุ
- งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี (ERP) - งานบริหารและธุรการ
5) กองบริหารยุทธศาสตร์ แบ่งออกเป็น 5 งาน ประกอบด้วย
- งานงบประมาณ - งานแผนและยุทธศาสตร์
- งานวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ - งานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
- งานบริหารและธุรการ
6) กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน แบ่งออกเป็น 7 งาน ประกอบด้วย
- งานบริหารอาคารและสถานที่ - งานพัฒนาระบบสาธารณูปโภค
- งานบริการยานพาหนะ - งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
- งานจราจรและความปลอดภัย - งานวางแผนกายภาพและผังแม่บท
- งานบริหารและธุรการ
7) กองวิเทศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 งาน ประกอบด้วย
- งานความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างประเทศ - งานสารนิเทศและสื่อสารความเป็นนานาชาติ
- งานทุนและสร้างโอกาสสู่สากล - งานบริหารและยุทธศาสตร์สากล
8) สำนักงานตรวจสอบภายใน แบ่งออกเป็น 3 งาน ประกอบด้วย
- งานตรวจสอบภายใน - งานให้คำปรึกษาและพัฒนา
- งานบริหารและธุรการ
9) สำนักงานบริหารทรัพย์สิน แบ่งออกเป็น 3 งาน ประกอบด้วย
- งานจัดหารายได้และสิทธิประโยชน์ - งานพัฒนาศักยภาพหน่วยธุรกิจ
- งานบริหารและธุรการ
10) สำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคมแบ่งออกเป็น 5 งาน ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมและสนับสนุนบริการวิชาการ - งานพัฒนาบ่มเพาะธุรกิจ
- งานความร่วมมือรัฐและเอกชน - งานส่งเสริมนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา
- งานบริหารและธุรการ
11) สำนักงานกฎหมายแบ่งออกเป็น 4 งาน ประกอบด้วย
- งานกฎหมาย - งานนิติกรรมสัญญาและสารบรรณ
- งานคดี - งานวินัยและสอบสวน
12) กองกีฬา ศิลปะและวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 5 งาน ประกอบด้วย
- งานพัฒนากีฬาและสุขภาพ - งานบริหารสนามกีฬาและกายภาพ
- งานฟื้นฟูและเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย - งานศิลปะและวัฒนธรรม
- งานบริหารและธุรการ
13) สำนักงานพัฒนาคุณภาพ แบ่งออกเป็น 4 งาน ประกอบด้วย
- งานพัฒนาคุณภาพองค์กร - งานมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
- งานบริหารความเสี่ยง - งานบริหารและธุรการ
วันที่ 6 ธันวาคม 2566
ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานมหาวิทยาลัย(ฉบับที่ 2) ให้สำนักงานเขตบริหารการเรียนรู้พื้นที่สุพรรณบุรี (Suphan Buri Learning Administrarion Area Office) มีสถานะเป็นหน่วยงานเทียบเท่ากอง สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย มีหน่วยงานภายใน ดังนี้
1) งานยุทธศาสตร์และบริหารงานทั่วไป 2) งานคลังและพัสดุ
รูปแบบการบริหารของสำนักงานมหาวิทยาลัย
สำนักงานมหาวิทยาลัยมีคณะกรรมการประจำสำนักงานมหาวิทยาลัย มีคำสั่งแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2558 ตามคำสั่งที่ 3545/2558 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2558 และมีคำสั่งใหม่ที่ 528/2564 สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2564 โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัยเป็นประธาน ผู้บริหารหน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ และ เจ้าหน้าที่สำนักงานมหาวิทยาลัย เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการประจำสำนักงานมหาวิทยาลัย มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1. รับนโยบายของฝ่ายบริหารมาปฏิบัติ และถ่ายทอดแนวปฏิบัติตามนโยบายของฝ่ายบริหารไปยังหน่วยงานภายในสำนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อให้หน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติให้ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. จัดการและติดตามการประกันคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง และการจัดการความรู้ภายในสำนักงานมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับนโยบายและวิธีการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. พิจารณากำหนดแนวทางในการประสานความร่วมมือ การแก้ไขปัญหา การให้คำปรึกษาและการเสนอความคิดเห็นในการปฏิบัติงานตามภารกิจร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในสำนักงานมหาวิทยาลัยให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสามัคคี
4. จัดวางระบบการประสานงานแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในสำนักงานมหาวิทยาลัย ให้มีความเชื่อมโยงการปฏิบัติงานตามภารกิจ และบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนงานตามภารกิจของส่วนงานในระดับคณะ สถาบัน สำนัก ในสังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่อธิการบดีในกิจการต่าง ๆ ตามภารกิจของหน่วยงานภายในสำนักงานมหาวิทยาลัย
6. ทำหน้าที่คณะกรรมการประจำส่วนงานตามที่มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำส่วนงาน
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการตามภารกิจของสำนักงานมหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีมอบหมาย